ประวัติแผนกวิชาช่างก่อสร้าง - โยธา

ประวัติแผนกวิชาช่างก่อสร้าง
ตั้งขึ้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2482 เดิมใช้ชื่อโรงเรียนช่างไม้ลำพูนเปิดสอนหลักสูตรมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้นหลัก สูตร 3 ปี และหลักสูตรมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลายหลักสูตร 3 ปี เปิดเรียนแรกมีครู 3 คน นักเรียน 22 คน รับนักเรียนจบ ป.4 เรียน 3 ปี สำเร็จการศึกษาได้รับวุฒิช่างไม้เบื้องต้นในปีการศึกษา 2510 รวมโรงเรียนการช่างสตรีลำพูน กับโรงเรียนช่างไม้ลำพูนเข้าด้วยกัน ใช้ชื่อว่า โรงเรียนการช่างลำพูน มีนักเรียน 2 แผนกคือ แผนกวิชาช่างก่อสร้าง และแผนกวิชา
คหกรรม ศาสตร์ มีครู-อาจารย์ 28 คน นักเรียน 215 คนสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในปีการศึกษา 2538 วิทยาลัยเทคนิคลำพูนได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนสอนในระดับ ปวช. และ ปวส. ปีการศึกษา 2560 ได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขา โยธา

http://4.bp.blogspot.com/-FERlm4fPDSs/TgSLeQNXzFI/AAAAAAAAOoY/kP58WvHqjOk/s1600/architect_reading_blu_a_ha.gif

»»» บทความและข่าวสาร

หัวข้อการควบคุมและตรวจสอบ งานพื้นสำเร็จรูป : พงศ์พิชญ์ พิมพิไสย

การควบคุมและตรวจสอบ งานพื้นสำเร็จรูป (ก่อนการทำงาน) : พงศ์พิชญ์  พิมพิไสย





1. ทิศทางการวางพื้นสำเร็จรูป ถูกต้องตามแบบ
2. ระดับหลังคานถูกต้อง เรียบเสมอตลอดแนว และเทคอนกรีตบ่ารับหัวแผ่นพื้น ถูกต้อง ครบถ้วนทุกจุดแล้ว  
3. การตัดหัวแผ่นพื้นสำเร็จรูป ใช้ไฟเบอร์ตัดทั้งหมด ไม่มีรอยทุบ หรือสกัด และระยะการนั่งบนหลังคานถูกต้อง 
4. การเชื่อมเหล็ก Shear Key พื้นสำเร็จรูป
5. สภาพของพื้นสำเร็จรูป (รอยร้าว, การโค้งงอ, รอยพรุน, แผลแตก) 
6. ตำแหน่ง, ความแข็งแรง ของค้ำยันท้องพื้นสำเร็จรูป
7. การติดปุ่มระดับและการให้ระดับ, ความหนาของคอนกรีตทับหน้า 
8. ขนาดและระยะห่างของเหล็กเสริม Topping
9. การหยุดและการต่อเหล็ก ของเหล็กเสริม Topping 
10. การหนุนลูกปูน บริเวณด้านล่างของเหล็กเสริ Topping
11. เหล็กเสียบเอ็นข้างประตู 
12. คุณภาพและความสะอาดของเหล็กเสริม Topping
13. ตำแหน่ง, คุณภาพ, ความแข็งแรง, ความสนิท ของไม้แบบรอบคอนกรีตทับหน้า 
14. ความสะอาดของแบบหล่อ และความสะอาดของพื้นสำเร็จรูป ก่อนเทคอนกรีตทับหน้า
15. เครื่องจี้คอนกรีต และอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งคนงาน มีความพร้อมในการเทคอนกรีต 
16. คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready mix) ถูกต้องตามมาตรฐาน พร้อมตรวจสอบกำลังอัด, เวลา จากบิลปูนแล้ว







 การควบคุมและตรวจสอบ งานพื้นสำเร็จรูป (ภายหลังการทำงาน) : พงศ์พิชญ์  พิมพิไสย


1. ระยะเวลาการถอดแบบค้ำยันท้องพื้นสำเร็จรูป ไม่น้อยกว่า 7 วัน 
2. ผิวคอนกรีตแน่น เรียบเนียน มีสภาพดี ได้มาตรฐาน
3. คอนกรีตทับหน้าบริเวณริมคาน อมพื้นสำเร็จรูปทั้งหมด 
4. ระดับหลังพื้นคอนกรีตทับหน้า ถูกต้อง
5. ความเรียบบนหลังพื้นคอนกรีตทับหน้า และการกรีดหน้า Line เรียบร้อย สวยงาม 
6. เหล็กเสียบต่างๆ ครบถ้วน และอยู่ตรงตำแหน่งที่ถูกต้อง
7. สภาพของพื้นสำเร็จรูปหลังเทคอนกรีตทับหน้า ไม่มีรอยร้าว, โค้งงอ, รอยพรุน, แผนแตก 
8. ท้องพื้นสำเร็จรูปเรียบสม่ำเสมอ ไม่แอ่น
9. มีการบ่มคอนกรีต ถูกต้อง ได้มาตรฐาน





 



  

   บทความโดย : พงศ์พิชญ์  พิมพิไสย

ไม่มีความคิดเห็น: