ประวัติแผนกวิชาช่างก่อสร้าง - โยธา

ประวัติแผนกวิชาช่างก่อสร้าง
ตั้งขึ้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2482 เดิมใช้ชื่อโรงเรียนช่างไม้ลำพูนเปิดสอนหลักสูตรมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้นหลัก สูตร 3 ปี และหลักสูตรมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลายหลักสูตร 3 ปี เปิดเรียนแรกมีครู 3 คน นักเรียน 22 คน รับนักเรียนจบ ป.4 เรียน 3 ปี สำเร็จการศึกษาได้รับวุฒิช่างไม้เบื้องต้นในปีการศึกษา 2510 รวมโรงเรียนการช่างสตรีลำพูน กับโรงเรียนช่างไม้ลำพูนเข้าด้วยกัน ใช้ชื่อว่า โรงเรียนการช่างลำพูน มีนักเรียน 2 แผนกคือ แผนกวิชาช่างก่อสร้าง และแผนกวิชา
คหกรรม ศาสตร์ มีครู-อาจารย์ 28 คน นักเรียน 215 คนสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในปีการศึกษา 2538 วิทยาลัยเทคนิคลำพูนได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนสอนในระดับ ปวช. และ ปวส. ปีการศึกษา 2560 ได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขา โยธา

http://4.bp.blogspot.com/-FERlm4fPDSs/TgSLeQNXzFI/AAAAAAAAOoY/kP58WvHqjOk/s1600/architect_reading_blu_a_ha.gif

»»» บทความและข่าวสาร

มาตรฐานวัสดุท่อประปา อุปกรณ์ท่อ และส่วนประกอบท่อพีวีซี (Polyvinyl Chloride (PVC) Pipe)

มาตรฐานวัสดุท่อประปา อุปกรณ์ท่อ และส่วนประกอบท่อพีวีซี (Polyvinyl Chloride (PVC) Pipe)
ท่อพีวีซี (Polyvinyl Chloride (PVC) Pipe)
- คุณสมบัติทั่วไป
• สำหรับท่อประปาภายในอาคาร ให้ใช้ท่อพีวีซีแข็งแบบปลายธรรมดาชนิดปลายเรียบทั้งสองข้างหรือใช้แบบปลาย บาน และต้องเป็นท่อที่สามารถรับความดันน้ำได้ไม่น้อยกว่า1.35 เมกาปาสคาล (13.5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) ที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียสและมีคุณสมบัติตามมาตรฐาน มอก. 17 ชั้นคุณภาพไม่ต่ำกว่า 13.5
• สำหรับท่อประปาภายนอกอาคาร ให้ใช้ท่อพีวีซีแข็งแบบปลายบานชนิดต่อด้วยแหวนยางสามารถรับความดันน้ำได้ไม่ น้อยกว่า 0.85 เมกาปาสกาล (8.5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) ที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส และมีคุณสมบัติตามมาตรฐาน มอก. 17 ชั้นคุณภาพไม่ต่ำกว่า 8.5
• สำหรับท่อสุขาภิบาล ให้ใช้ท่อพีวีซีแข็งแบบปลายธรรมดาชนิดปลายเรียบทั้งสองข้างสามารถรับความดัน น้ำได้ไม่น้อยกว่า 0.85 เมกาปาสกาล (8.5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) ที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส และมีคุณสมบัติตามมาตรฐาน มอก. 17 ชั้นคุณภาพไม่ต่ำกว่า 8.5
• สำหรับท่อประปาภายในอาคาร ให้ใช้ท่อพีวีซีแข็งแบบปลายธรรมดาชนิดปลายเรียบทั้งสองข้างหรือใช้แบบปลาย บานสามารถรับความดันน้ำได้ไม่น้อยกว่า1.35 เมกาปาสกาล (13.5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) ที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส และมีคุณสมบัติตามมาตรฐาน มอก.17 ชั้นคุณภาพไม่ต่ำกว่า 13.5

https://s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/builk3storage/project/20160106_094532_project_2061134_big.jpg
• วัสดุพีวีซีที่ใช้ผลิตท่อพีวีซีแข็ง ต้องมีค่าความถ่วงจำเพาะไม่มากกว่า 1.43
• ท่อพีวีซีแข็งมีความยาวท่อนละ 6 เมตร
- ข้อต่อ
• สำหรับระบบท่อประปาภายนอกอาคาร การประกอบต่อเชื่อมท่อพีวีซีแข็งและอุปกรณ์ท่อต้องเป็นแบบต่อสวม (Push Fit Insertion Joints) โดยใช้แหวนยาง (Rubber Gasket) ตามมาตรฐาน มอก.1131 สำหรับท่อพีวีซีแข็งแบบปลายบาน
• สำหรับระบบท่อประปาภายในอาคารและท่อสุขาภิบาล การประกอบต่อเชื่อมท่อพีวีซีแข็งและอุปกรณ์ท่อต้องเป็นแบบต่อด้วยน้ำยา เชื่อมประสานท่อที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐานมอก. 1032 สำหรับท่อพีวีซีแข็งแบบปลายเรียบทั้งสองข้าง
• สำหรับระบบท่อประปาภายในอาคารที่ใช้ท่อพีวีซีแข็งชนิดปลายบาน การประกอบต่อเชื่อมท่อพีวีซีแข็งและอุปกรณ์ท่อต้องเป็นแบบต่อด้วยน้ำยา เชื่อมประสานท่อแหวนยางสำหรับใช้กับท่อพีวีซีแข็งและอุปกรณ์ท่อต้องมี คุณสมบัติตามมาตรฐานASTM F477
• แคล้มป์ รัดท่อจะต้องทำจากวัสดุพีวีซี หรือบรอนซ์ หรือวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่า เมื่อใช้กับท่อพีวีซีแข็งจะต้องไม่ทำให้ท่อเสียรูป และสามารถรับความดันน้ำได้ไม่น้อยกว่า 1.0 เมกาปาสกาล (10 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร)แคล้มป์รัดท่อที่ทำจากวัสดุพีวีซีต้องมี คุณสมบัติและความแข็งแรงเทียบเท่า หรือดีกว่าวัสดุพีวีซีที่ใช้ในการผลิตท่อในกรณีที่ใช้ข้อต่อแบบหน้าจาน หรือแบบแหวนรอง (Backing Rings) สำหรับต่อเชื่อมท่อจะต้องทำจากเหล็กหล่อหรือเทียบเท่าที่มีค่ากำลังต้านทาน แรงดึงต่ำสุดเท่ากับ 200 เมกาปาสกาล (2,000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) และค่าความแข็งสูงสุดเท่ากับ 230 HB หรือใช้เป็นเหล็กหล่อเหนียว หรือเหล็กเหนียวที่มีค่าความต้านทานแรงดึงต่ำสุดเท่ากับ 420 เมกาปาสกาล (4,200 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) และค่าความแข็งสูงสุดเท่ากับ 250 HBการเจาะรูหน้าจานและแหวนรอง ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO 7005 PN10ปะเก็นยางที่จะนำมาใช้กับข้อต่อแบบหน้าจานและแบบแหวนรอง (Backing Ring) ต้องเป็นแบบเต็มหน้า ให้มีคุณสมบัติตามมาตรฐาน BS 2494 หรือมาตรฐาน JIS K6353 Class III
• สลักเกลียวและแป้นเกลียวสำหรับใช้กับหน้าจานและแหวนรอง (Backing Ring) ต้องทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม ให้มีคุณสมบัติตามมาตรฐาน ASTM A320 Grade B8 เคลือบด้วยสารโลหะผสมหล่อลื่นแห้ง (Dry Lubrication High Alloy Metal Coating) เพื่อป้องกันการเกิดกอลลิ้ง (Galling) หรือใช้โลหะผสมทองแดงอะลูมิเนียม (Copper AluminiumAlloy) ตามมาตรฐาน ISO 428 หรือใช้โลหะผสมทองแดง (Copper alloy) ตามมาตรฐาน ASTM B150
• ขนาดมิติของสลักเกลียวและแป้นเกลียวต้องเป็นไปตามมาตรฐาน BS 4190
- อุปกรณ์ท่อ
• สำหรับระบบท่อประปาภายนอกอาคาร อุปกรณ์ท่อจะต้องเป็นแบบปลายปากระฆัง เพื่อสามารถต่อเชื่อมกับท่อได้โดยการต่อสวมโดยใช้แหวนยาง
• สำหรับระบบท่อประปาภายในอาคารและท่อสุขาภิบาล อุปกรณ์ท่อจะต้องเป็นแบบปลายเรียบ เพื่อสามารถต่อเชื่อมกับท่อได้ด้วยน้ำยาเชื่อมประสานท่อ
• ระยะความลึกของหัวสวมเพื่อต่อเชื่อมกับท่อ ต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในตารางที่ 4
• อุปกรณ์ท่ออาจทำจากวัสดุพีวีซี หรือเหล็กหล่อ หรือเหล็กหล่อเหนียว
• อุปกรณ์ท่อที่ทำด้วยวัสดุพีวีซีจะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.1131โดยต้องมีคุณสมบัติและความแข็งแรงเทียบเท่าหรือดีกว่าวัสดุพีวีซี ที่ใช้ในการผลิตท่อ
• อุปกรณ์ท่อที่ทำจากเหล็กหล่อหรือเหล็กหล่อเหนียว ต้องมีคุณสมบัติทางกลดังนี้ เหล็กหล่อที่นำมาผลิตอุปกรณ์ท่อต้องมีค่ากำลังต้านทานแรงดึงต่ำสุดเท่ากับ 200 เมกาปาสกาล (2,000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) และมีค่าความแข็งสูงสุดเท่ากับ 230 HB หรือใช้เหล็กหล่อเหนียวในการผลิตอุปกรณ์ท่อ ต้องมีความต้านทานแรงดึงต่ำสุดเท่ากับ 420 เมกาปาสกาล (4,200 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) และค่าความแข็งสูงสุดเท่ากับ 250 HB
• เกลียวสำหรับสวมท่อ ต้องเป็นแบบเกลียวมาตรฐาน BS 21 และต้องเสริมด้วยทองบรอนซ์
• ยีโบลท์สำหรับ ท่อ พีวีซีแข็ง ต้องทำจากเหล็กหล่อหรือเหล็กหล่อเหนียวที่มีคุณสมบัติทางกลเช่นเดียวกับ อุปกรณ์ท่ออื่น ๆ
• การเคลือบผิวอุปกรณ์ท่อและยีโบลท์ที่ทำจากเหล็กจะต้องเคลือบภายนอกด้วยเรซิ นชนิดNon-Bleeding Type Coal Tar Epoxy หรือใช้เรซินชนิด Protective Fusion-Bonded EpoxyCoatings ตามมาตรฐาน AWWA C116 ให้ได้ความหนาผิวเคลือบเมื่อแห้งไม่น้อยกว่า 200ไมครอน (0.2 มิลลิเมตร) โดยต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของผู้ผลิตสารเคลือบและจะต้องเคลือบผิวจากโรงงาน ผู้ผลิต
• การเคลือบผิวอุปกรณ์ท่อและยีโบลท์ที่ทำจากเหล็กจะต้องเคลือบภายในด้วยเรซิ นชนิดProtective Fusion-Bonded Epoxy Coatings ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำมันถ่านหิน (Coal Tar) ตามมาตรฐาน AWWA C210 หรือ AWWA C116 ให้ได้ความหนาผิวเคลือบเมื่อแห้งไม่น้อยกว่า 200 ไมครอน (0.2 มิลลิเมตร) โดยต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของผู้ผลิตสารเคลือบและจะต้องเคลือบผิวจากโรงงาน ผู้ผลิต
- การทดสอบความดันน้ำ
• ท่อและอุปกรณ์ท่อเมื่อประกอบเข้าด้วยกันจะต้องสามารถทนต่อความดันน้ำไม่น้อย กว่า 2.5 เมกาปาสกาล (25 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 60 นาที โดยไม่มีการรั่วซึม
• การทดสอบท่อพีวีซีแข็งให้เป็นไปตามที่กำหนดในมาตรฐาน มอก.17
ที่มา : มาตรฐานท่อน้ำประปา กรมโยธาธิการและผังเมือง + ชมรมวิศวกรออกแบบระบบสุขาภิบาล

ไม่มีความคิดเห็น: