ประวัติแผนกวิชาช่างก่อสร้าง - โยธา

ประวัติแผนกวิชาช่างก่อสร้าง
ตั้งขึ้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2482 เดิมใช้ชื่อโรงเรียนช่างไม้ลำพูนเปิดสอนหลักสูตรมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้นหลัก สูตร 3 ปี และหลักสูตรมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลายหลักสูตร 3 ปี เปิดเรียนแรกมีครู 3 คน นักเรียน 22 คน รับนักเรียนจบ ป.4 เรียน 3 ปี สำเร็จการศึกษาได้รับวุฒิช่างไม้เบื้องต้นในปีการศึกษา 2510 รวมโรงเรียนการช่างสตรีลำพูน กับโรงเรียนช่างไม้ลำพูนเข้าด้วยกัน ใช้ชื่อว่า โรงเรียนการช่างลำพูน มีนักเรียน 2 แผนกคือ แผนกวิชาช่างก่อสร้าง และแผนกวิชา
คหกรรม ศาสตร์ มีครู-อาจารย์ 28 คน นักเรียน 215 คนสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในปีการศึกษา 2538 วิทยาลัยเทคนิคลำพูนได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนสอนในระดับ ปวช. และ ปวส. ปีการศึกษา 2560 ได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขา โยธา

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjoQbbPrntvfrBmppmDye3u2kM-4ZBVn7ub-JVFQPyeb6PYoOs6jGiR6XuTE8aTt9BEpv5ZN4_2YaJGhAsNxXKR8By_63T75yvwqfD6abLPvFcAjRZPZdizsflzHX2FehIvs_5n-mc37tXQ/s1600/architect_reading_blu_a_ha.gif

»»» บทความและข่าวสาร

การทำงานเสาเข็มคอนกรีต : พงศ์พิชญ์ พิมพิไสย


เสาเข็มคอนกรีต

เสาเข็มที่นำมาใช้ในการก่อสร้างต้องเป็นเสาเข็มที่ผลิตจาก โรงงานที่มีอุปกรณ์และวิศวกรผู้ชำนาญงานเพียงพอเสาเข้มทุกต้นต้องระบุวัน เดือนปี ที่ผลิตและชื่อผู้ผลิตแสดงไว้ชัดเจน
การกำหนดจุดยกและการขนส่ง เสาเข็มทุกต้นจะต้องแสดงจุดยกให้ชัดเจน และหากทำการทดสอบด้วยการนำเสาเข็มวางบนหมอนรองรับที่จุดยก รอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นจะต้องไม่กว้างมากกว่า 1.20 มิลลิเมตร

ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ได้
    ความคดงอของเสาเข็มตามยาวขณะวางในสภาวะปกติไม่ได้รับ BENDING จะต้องไม่เกิน 3 มิลลิเมตร ต่อความยาว 3.00 เมตร หรือ 9.5 มิลลิเมตร ต่อความยาว 12.00 ม.
    ปลายที่ตอกเสาเข็มต้องมีผิวหน้าเรียบ และตั้งฉากกับแกนความยาวของเสาเข็มโดยยอมให้มีความคลาดเคลื่อน ไม่เกิน 1 องศา

การตอกเสาเข็ม
    การตอกเสาเข็ม หมายถึงกรรมวิธีใดๆ ก็ตาม ที่ทำให้เข็มอยู่ใต้ดิน ณ ตำแหน่งที่เราต้องการ พร้อมที่จะรับน้ำหนักบรรทุกจากอาคารได้ วิธีการตอกเสาเข็มมีอยู่หลายแบบด้วยกัน เช่น
   1. Drop hammer เป็นวิธีเก่าแก่ที่สุดและยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วยปั้นจั่นตัวใหญ่พร้อมทั้งลูกตุ้มที่สามารถเลื่อนขึ้นลงได้ ตามความต้องการโดยใช้สายลวดสลิงเป็นตัวยกลูกตุ้มให้สุงขึ้นแล้วปล่อยตกลงมาบนหัวเสาเข็ม ลูกตุ้มที่ใช้ต้องไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักของเสาเข็มสำหรับเสาเข็มคอนกรีตเสาเหล็ก
    2. Steam hammer ประกอบด้วยกรอบเหล็กสั้นๆ ซึ่งเป็นรางวางให้ลูกตุ้มวิ่งขึ้นวิ่งลงการบังคับลูกตุ้มบังคับด้วยการระเบิดของไอน้ำหรือแรงดันของอากาศ Steam hammer มีระยะยกคงที่ตอกรัวและเร็วทำการตอกสม่ำเสมอ มีการสั่นสะเทือนคงที่ การเสียหายเนื่องจากการตอกวิธีนี้น้อยกว่าวิธี Drop hammer
    3. Water jet การตอกวิธีนี้ต้องฝังท่อไว้ในเสาเข็ม แล้วอัดน้ำลงไปตามท่อด้วยความดันสูงไปยังปลายของเสาเข็ม แรงดันน้ำจะทำให้ดินรอบๆปลายเสาเข็มหลวม ทำให้เข็มจมลงด้วยน้ำหนักตัวมันเอง การตอกวิธีนี้เหมาะที่จะใช้กับดินกรวดหรือทราย หรือกับเสาเข็มที่ออกแบบให้รับน้ำหนักที่ปลาย เพราะถ้าตอกบริเวณดินเหนียวจะทำให้ดินเหนียวรอบๆเสาเข็มเป็นน้ำโคลน ถ้าตอกบริเวณตะกอนทำให้ดินตะกอนมีลักษณะกึ่งของไหล
    4. Jacking ถ้าต้องการตอกบริเวณที่มีระยะยกไม่สูงนัก หรือบริเวณที่จะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนไม่ได้ เราต้องใช้ Hydraulic Jack กดเสาเข็มให้จมลง

 ข้อปฏิบัติในการตอกเสาเข็ม 
     1. จะต้องมีครอบหัวเสาเข็ม และหมอนรองรับหัวเสาเข็ม กันเสาเข็มแตก
     2. การกระแทกของลูกตุ้มตอกบนหัวเสาเข็ม จะต้องลงเต็มหน้าและได้ฉากกับแกนของเสาเข็ม
     3. ต้องหยุดการตอกเสาเข็มในทันทีก่อนที่เสาเข็มจะเสียหายเพราะ Overdriving เมื่อปรากฎการณ์ในขณะตอกเสาเข็มดังต่อไปนี้
          - เสาเข็มมีอาการสั่นและสะบัดใกล้ระดับผิวดิน
          - ลูกตุ้มตอกเด้งขึ้นโดยเสาเข็มไม่ทรุดจมเลย
          - หัวเสาเข็มแตกทั้งที่ทำการตอกกตามปกติ
    4. ต้องหยุดการตอกทันทีที่การทรุดตัวของเสาเข็มแสดงถึงความต้านทานการตอกสูงพอกับความต้องการ เมื่อผลการตอกเป็นดังนี้
           - เสาเข็มไม้                 4 - 5           blows ต่อนิ้ว
           - เสาเข็มคอนกรีต         6 - 8           blows ต่อนิ้ว
           - เสาเข็มเหล็ก             12 - 15       blows ต่อนิ้ว
     5. ลักษณะของเสาเข็มที่ตอกซึ่งแสดงว่าชำรุดเสียหายแล้ว มีลักษณะอาการให้เห็นดังนี้
           - การทรุดตัวของเสาเข็มขณะตอกเพิ่มขึ้นทันที หรือขึ้นๆลงๆขณะที่ลักกษณะของชั้นดินไม่อำนวยให้เป็นเช่นนั้น
            - เสาเข็มเปลี่ยนทิศทางทันทีทันใด
     6. ในการตอกเสาเข็มจำนวนมากๆ ภายในบริเวณที่ก่อสร้างนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งของห้องใต้ดิน เมื่อตอกเสาเข็มเสร็จใหม่ๆ แล้วไม่ควรขุดดิน ควรปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน ทั้งนี้เพราะดินเมื่อถูกเสาเข็มตอกจะถูกรบกวน (disturbed) ทำให้ค่า Shear Strength ของดินลดน้อยลง ซึ่งจะกลับคืนกำลังประมาณ 90% ภายใน 30 - 50 วัน ดังนั้น หากรีบทำการขุดดินจะเกิดการเลื่อนไถลของดิน ทำให้เสาเข็มที่ตอกไว้แล้วเสียหายได้
     7. การตอกเข็มกลุ่มให้ตอกเสาเข็มจากต้นกลางกลุ่มออกไป


 งานก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการพร้อมครุภัณฑ์ - วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

 งานก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการพร้อมครุภัณฑ์ - วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

 งานก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการพร้อมครุภัณฑ์ - วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

 งานก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการพร้อมครุภัณฑ์ - วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

 งานก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการพร้อมครุภัณฑ์ - วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

 งานก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการพร้อมครุภัณฑ์ - วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง จ.ลำพูน



การทำงานเสาเข็มคอนกรีต : พงศ์พิชญ์ พิมพิไสย
งานก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการพร้อมครุภัณฑ์



ไม่มีความคิดเห็น: