ประวัติแผนกวิชาช่างก่อสร้าง - โยธา

ประวัติแผนกวิชาช่างก่อสร้าง
ตั้งขึ้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2482 เดิมใช้ชื่อโรงเรียนช่างไม้ลำพูนเปิดสอนหลักสูตรมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้นหลัก สูตร 3 ปี และหลักสูตรมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลายหลักสูตร 3 ปี เปิดเรียนแรกมีครู 3 คน นักเรียน 22 คน รับนักเรียนจบ ป.4 เรียน 3 ปี สำเร็จการศึกษาได้รับวุฒิช่างไม้เบื้องต้นในปีการศึกษา 2510 รวมโรงเรียนการช่างสตรีลำพูน กับโรงเรียนช่างไม้ลำพูนเข้าด้วยกัน ใช้ชื่อว่า โรงเรียนการช่างลำพูน มีนักเรียน 2 แผนกคือ แผนกวิชาช่างก่อสร้าง และแผนกวิชา
คหกรรม ศาสตร์ มีครู-อาจารย์ 28 คน นักเรียน 215 คนสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในปีการศึกษา 2538 วิทยาลัยเทคนิคลำพูนได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนสอนในระดับ ปวช. และ ปวส. ปีการศึกษา 2560 ได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขา โยธา

http://4.bp.blogspot.com/-FERlm4fPDSs/TgSLeQNXzFI/AAAAAAAAOoY/kP58WvHqjOk/s1600/architect_reading_blu_a_ha.gif

»»» บทความและข่าวสาร

รายการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ งานผนังก่อ (อิฐมวลเบา) : พงศ์พิชญ์ พิมพิไสย



รายการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพก่อนการทำงานงานผนังก่อ (อิฐมวลเบา)

1. เคลียร์ความสะอาดพื้นที่ บริเวณแนวก่ออิฐ เรียบร้อย มีสภาพพร้อมก่อ




(การก่อชนคานเช่นนี้จะทำให้ผนังแตกร้าวได้ ต้องเว้นช่องว่างไว้ประมาณ 1-2 ซม. แล้วอุดด้วยปูนทราย (ปูนจืด) แต่ถ้าท้องพื้นคานที่จะก่อบล็อกเข้าไปชนมีโอกาสหย่อนตัวลงมาได้ เช่น ระบบ Post Tension หรือโครงสร้างเหล็ก จะต้องเว้นช่องว่างไว้ ไม่น้อยกว่า 2.5 ซม. แล้วอุดด้วยวัสดุที่มีความหยุ่นตัว เช่น โฟม หรือแผ่นยาง)


(ผลของการทำงานไม่ถูกต้อง มักจะส่งผลดังรูปนี้)


2. ตรวจสอบการตีเส้นแนวการก่ออิฐ, ช่องเปิด ชัดเจน ถูกต้องตามแบบ 
3. ตรวจสอบเหล็กหนวดกุ้งทั้งหมด ยึดแข็งแรง ครบถ้วน ถูกต้องตามมาตรฐาน
4. อิฐมวลเบาที่นำมาก่อ ทั้งขนาด และยี่ห้อ ถูกต้องตามมาตรฐาน


5. ปูนก่ออิฐมวลเบาสำเร็จที่นำมาใช้ ถูกต้องตามมาตรฐาน
6. เครื่องมือช่างที่ใช้ก่ออิฐมวลเบา เช่น เกรียงก่ออิฐมวลเบา, ค้อนยาง, พายกวนปูน, สว่าน, เลื่อย, เกรียงฟันปลา, แปรงขัดผงฝุ่น มีครบถ้วน และถูกต้องตามมาตรฐาน
7. เตรียมเหล็กเสริม และไม้แบบ พร้อมในการทำเอ็น, ทับหลัง ค.ส.ล. 




รายการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพภายหลังการทำงานงานผนังก่อ (อิฐมวลเบา)

1. แนวก่ออิฐมวลเบาถูกต้อง ตามแบบ ได้ระนาบ แนวดิ่ง ฉาก งานเรียบร้อย ได้คุณภาพ


 
ภาพการทำงานที่ไม่ได้มาตรฐาน



 (การติดตั้ง เสาเอ็น และทับหลัง คสล. เพื่อให้ผนังบล็อกเกิดความแข็งแรง สามารถต้านทานต่อแรง ต่าง ๆ ที่มากระทำได้  ติดตั้งเสาเอ็น และทับหลัง คสล. เมื่อผนังที่ก่อบล็อกยาว หรือสูงเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดใน ตาราง โดยการทำเสาเอ็น และทับหลัง คสล. จะต้องทำตลอดความสูง และความยาวของผนัง ขนาดความ หนาของเสาเอ็นและทับหลัง เท่ากับความหนาของบล็อกที่ก่อเสริมเหล็กเส้นกลม ขนาด ø 6 มม. จำนวน 2 เส้น เหล็กเสริมจะต้องฝังลึกในพื้น และคานด้านบน)


2. การเรียงตัวแนวก่ออิฐเรียบร้อย ได้คุณภาพ, ระยะเหลื่อมก้อนอิฐแต่ละชั้นไม่ต่ำกว่า 5 ซม.
3. รอยต่ออิฐมวลเบา มีปูนก่อ แน่น เต็ม รอบด้าน ไม่มีช่อง รู โพรง และแสงลอดผ่าน
4. แนวก่ออิฐมวลเบาที่ก่อชนแผงอื่น มีการก่อประสานสลับก้อนหรือเทเอ็น ถูกต้องตามมาตรฐาน 


5. อิฐมวลเบาที่ชนท้องคาน ตัดด้วยความประณีต สวยงาม มีขนาดพอดี ไม่มีรอย แตก บิ่น
6. แนวผนังที่ชนท้องคาน เว้นช่องไว้ 3 ซม. และอุดด้วยปูนทราย แน่น เต็ม ยาวตลอดแนว
7. แนวผนังที่ชนท้องแผ่นพื้น หรือชนท้องอะเสเหล็ก เว้นช่องไว้ อัดด้วยโฟ ยาวตลอดแนว
8. อิฐมวลเบา ที่มีรอย แตก บิ่น บริเวณมุม ขอบ  มีการอุดปูน ให้แน่น เต็ม ทั้งหมด
9. ปูนทรายปรับระดับ หนา 3 ซม. เมื่อเริ่มก่อ หลังพื้น และหลังทับหลัง ครบถ้วน ถูกต้อง
10. ตำแหน่ง ขนาด เสาเอ็น ทับหลัง ถูกต้อง ครบถ้วน คอนกรีตหนาแน่น ไม่เป็นโพรง
11. เทคานทับหลัง ขนาด ระดับถูกต้อง พร้อมโผล่เหล็กไว้ สำหรับงานเคาน์เตอร์ ค.ส.ล.
12. เท Crub ค.ส.ล. บริเวณห้องน้ำ, ระเบียงและพื้น Slab ที่รับน้ำโดยตรง ถูกต้อง ครบถ้วน
13. ได้ทำความสะอาดพื้นที่บริเวณแนวก่อ หลังจากก่ออิฐเสร็จแล้ว มีความเรียบร้อย




รายการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ งานผนังก่อ (อิฐมวลเบา) : พงศ์พิชญ์  พิมพิไสย



ไม่มีความคิดเห็น: