ประวัติแผนกวิชาช่างก่อสร้าง - โยธา

ประวัติแผนกวิชาช่างก่อสร้าง
ตั้งขึ้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2482 เดิมใช้ชื่อโรงเรียนช่างไม้ลำพูนเปิดสอนหลักสูตรมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้นหลัก สูตร 3 ปี และหลักสูตรมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลายหลักสูตร 3 ปี เปิดเรียนแรกมีครู 3 คน นักเรียน 22 คน รับนักเรียนจบ ป.4 เรียน 3 ปี สำเร็จการศึกษาได้รับวุฒิช่างไม้เบื้องต้นในปีการศึกษา 2510 รวมโรงเรียนการช่างสตรีลำพูน กับโรงเรียนช่างไม้ลำพูนเข้าด้วยกัน ใช้ชื่อว่า โรงเรียนการช่างลำพูน มีนักเรียน 2 แผนกคือ แผนกวิชาช่างก่อสร้าง และแผนกวิชา
คหกรรม ศาสตร์ มีครู-อาจารย์ 28 คน นักเรียน 215 คนสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในปีการศึกษา 2538 วิทยาลัยเทคนิคลำพูนได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนสอนในระดับ ปวช. และ ปวส. ปีการศึกษา 2560 ได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขา โยธา

http://4.bp.blogspot.com/-FERlm4fPDSs/TgSLeQNXzFI/AAAAAAAAOoY/kP58WvHqjOk/s1600/architect_reading_blu_a_ha.gif

»»» บทความและข่าวสาร

การเทคอนกรีตงานเสาเข็มเจาะระบบแห้ง (Dry Process) : พงศ์พิชญ์ พิมพิไสย

 การเทคอนกรีตงานเสาเข็มเจาะระบบแห้ง (Dry Process)

1. ก้นรูเจาะต้องแห้งสะอาด และได้ระดับตามความต้องการ ถ้าก้นรูเจาะมีน้ำต้องทำให้แห้งเสียก่อน จึงจะเทคอนกรีตได้ หรืออาจใช้กรรมวิธีสำหรับเทคอนกรีตในน้ำ หรือกรรมวิธีอื่นตามหลักวิชาวิศวกรรม
2. การเทคอนกรีตในรูเจาะ ให้กระทำโดยวิธีการที่เหมาะสม และไม่ทำให้ส่วนผสมของคอนกรีตเกิดการแยกตัว (Segregation)
3. การเทคอนกรีตเสาแต่ละต้น จะต้องเทต่อเนื่องกันตลอด โดยหยุดชงักไม่ได้ ในกรณีที่มีเหตุผิดปกติ ทำให้คอนกรีตไม่ต่อเนื่องกัน โดยคอนกรีตส่วนที่เทไว้ก่อนแข็งตัว ให้ทำเสาเข็มใหม่ เพื่อชดเชยต้นที่เสียไป
4. ขณะเทคอนกรีตจะต้องอัดคอนกรีตในรูเจาะให้แน่น โดยใช้ Pressure หรือเครื่องเขย่าคอนกรีตหรือวิธีการอื่นใดตามหลักวิชาวิศวกรรม
5. ในขณะเทคอนกรีต หรือขณะถอนท่อชั่วคราว ต้องป้องกันมิให้น้ำผิวดินหรือน้ำใต้ดิน หรือ เศษสิ่งของใดๆ ไหลหรือล้นเข้าไปในรูเจาะได้
6. การถอนปลอกเหล็ก ต้องถอนด้วยความระมัดระวัง มิให้ดินทางด้านข้างพังทลายลงมาได้
7. เหล็กเสริมต้องจัดให้อยู่กลาง ไม่ชิดไปทางด้านใดทางด้านหนึ่งมากเกินไป อันเป็นเหตุให้เหล็กสัมผัสดินโดยตรง
8. รูเจาะและเสาเข็ม เมื่อหล่อเสร็จแล้วจะคลาดเคลื่อนจากศูนย์กลางที่กำหนดไว้ได้ไม่เกิน 10 เซนติเมตร สำหรับแนวดิ่งของเสาเข็มเจาะจากหัวเสาเข็มเจาะถึงปลายเสาเข็มเจาะ จะคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 0.5 % ของความยาวของเสาเข็มเจาะ
9. ให้เทคอนกรีตของเสาเข็มเจาะจนเลยระดับหัวเสาเข็มที่ต้องการ ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เพื่อสกัดคอนกรีตส่วนที่เลยระดับหัวเสาเข็ม ซึ่งเป็นคอนกรีตส่วนที่ไม่แข็งแรงออก 


  งานเสาเข็มเจาะ อาคารแฟลต 4 ชั้น 14 หน่วย จ.เชียงใหม่

  งานเสาเข็มเจาะ อาคารแฟลต 4 ชั้น 14 หน่วย จ.เชียงใหม่

  งานเสาเข็มเจาะ อาคารแฟลต 4 ชั้น 14 หน่วย จ.เชียงใหม่

  งานเสาเข็มเจาะ อาคารแฟลต 4 ชั้น 14 หน่วย จ.เชียงใหม่

  งานเสาเข็มเจาะ อาคารแฟลต 4 ชั้น 14 หน่วย จ.เชียงใหม่

  งานเสาเข็มเจาะ อาคารแฟลต 4 ชั้น 14 หน่วย จ.เชียงใหม่

  งานเสาเข็มเจาะ อาคารแฟลต 4 ชั้น 14 หน่วย จ.เชียงใหม่

  งานเสาเข็มเจาะ อาคารแฟลต 4 ชั้น 14 หน่วย จ.เชียงใหม่

  งานเสาเข็มเจาะ อาคารแฟลต 4 ชั้น 14 หน่วย จ.เชียงใหม่

 งานเสาเข็มเจาะ อาคารแฟลต 4 ชั้น 14 หน่วย จ.เชียงใหม่
 

การเทคอนกรีตงานเสาเข็มเจาะระบบแห้ง (Dry Process) : พงศ์พิชญ์  พิมพิไสย

ไม่มีความคิดเห็น: