ประวัติแผนกวิชาช่างก่อสร้าง - โยธา

ประวัติแผนกวิชาช่างก่อสร้าง
ตั้งขึ้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2482 เดิมใช้ชื่อโรงเรียนช่างไม้ลำพูนเปิดสอนหลักสูตรมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้นหลัก สูตร 3 ปี และหลักสูตรมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลายหลักสูตร 3 ปี เปิดเรียนแรกมีครู 3 คน นักเรียน 22 คน รับนักเรียนจบ ป.4 เรียน 3 ปี สำเร็จการศึกษาได้รับวุฒิช่างไม้เบื้องต้นในปีการศึกษา 2510 รวมโรงเรียนการช่างสตรีลำพูน กับโรงเรียนช่างไม้ลำพูนเข้าด้วยกัน ใช้ชื่อว่า โรงเรียนการช่างลำพูน มีนักเรียน 2 แผนกคือ แผนกวิชาช่างก่อสร้าง และแผนกวิชา
คหกรรม ศาสตร์ มีครู-อาจารย์ 28 คน นักเรียน 215 คนสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในปีการศึกษา 2538 วิทยาลัยเทคนิคลำพูนได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนสอนในระดับ ปวช. และ ปวส. ปีการศึกษา 2560 ได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขา โยธา

http://4.bp.blogspot.com/-FERlm4fPDSs/TgSLeQNXzFI/AAAAAAAAOoY/kP58WvHqjOk/s1600/architect_reading_blu_a_ha.gif

»»» บทความและข่าวสาร

การหาสัดส่วนผสมที่เหมาะสมในการผลิตคอนกรีตไหลเข้าแบบและอัดแน่นได้เองโดยวิธี Mixture Design

ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง  มีการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมาก  มีการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ตามมา  เช่น  ถนน  สะพานขนาดใหญ่  เป็นต้น  ความทนทาน (Durability)  ของโครงสร้างคอนกรีตเป็นสิ่งสำคัญและกำลังจะเป็นปัญหาสำคัญในอนาคต   โดยที่การผลิตโครงสร้างคอนกรีตให้ได้ความทนทานตามที่มาตรฐานกำหนดนั้น   การอัดแน่น (Compaction) ของคอนกรีตที่เพียงพอเป็นสิ่งที่จำเป็นและจะต้องทำโดยแรงงานที่มีฝีมือ (Skilled   worker)  โดยในปัจจุบันปริมาณแรงงานที่มีฝีมือมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ  ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณโครงการขนาดใหญ่ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  จนมีผลทำให้คุณภาพงานก่อสร้างของประเทศไทยโดยเฉพาะในส่วนของความทนทานของโครงสร้างคอนกรีต (Durability) ลดลงตามไปด้วย  กล่าวคือ  ในขั้นตอนของการจี้เขย่าเพื่อทำการอัดแน่นคอนกรีต  เป็นขั้นตอนที่เสียเวลาและเพิ่มความยุ่งยากในการก่อสร้างและอย่างยิ่งในโครงสร้างที่ซับซ้อนจะกระทำได้ยากทำให้เกิดปัญหาคอนกรีตไม่เต็มแบบดังรูป (แสดงโครงสร้างเสาเมื่อถอดแบบออกแล้ว)
ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว  คำตอบหนึ่งที่เป็นทางแก้ไขในการปรับปรุงคุณภาพของโครงสร้างคอนกรีต  ก็คือ  คอนกรีตไหลเข้าแบบและอัดแน่นได้เอง (Self-Compacting  Concrete)  โดยที่ปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มศึกษาปัญหานี้เมื่อประมาณปี คศ. 1988  และได้พัฒนาคอนกรีตไหลเข้าแบบและอัดแน่นได้เองที่เหมาะสมสำหรับงานในประเทศญี่ปุ่นมาตามลำดับ  และในยุโรปและอเมริกาก็ได้เริ่มศึกษาปัญหานี้และพัฒนาคอนกรีตไหลเข้าแบบและอัดแน่นได้เองได้ไม่ถึง 5 ปี[Ouchi,2003]https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj_O_vPUJI9kqTy06x7rYr71utmyfZxjO6fw4iHlz_8i5mV39I5cP1zZwqJtbX-Ys72o7ax9Xs8kE7u_707XFCs2noTL1YaSzhZjF199PVLj9_djhPB2pXpKJ5tOS__IiffIC-fyNDLf4D8/s1600/cpacacademy_com_0057_1_1_img1_4524.jpg
ตั้งแต่ปี คศ.1988  ปริมาณการใช้คอนกรีตไหลเข้าแบบและอัดแน่นได้เองในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเรื่อย  มีการศึกษาเหตุการณ์ดังกล่าวแล้วพบว่า เหตุผลสำคัญที่ทำให้การใช้คอนกรีตไหลเข้าแบบและอัดแน่นได้เองในโครงการต่างๆนั้น  สรุปได้ 3 ข้อใหญ่ๆ ก็คือ [Ouchi,2003]  
1.             ทำให้ระยะเวลาการก่อสร้างลดลง
2.             รับรองได้แน่นอนว่าคอนกรีตจะอัดแน่นและไหลเข้าแบบได้ 100 % โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก
3.             ลดเสียงดังที่เกิดจากการจี้เขย่าคอนกรีตเพื่อให้เกิดการอัดแน่น  โดยเฉพาะในส่วนของการผลิตในโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอนกรีต


ดังนั้น  การศึกษาเพื่อหาสัดส่วนผสมที่เหมาะสมในการผลิตคอนกรีตไหลเข้าแบบและอัดแน่นได้เอง  นั้นน่าจะเป็นการพัฒนาการศึกษาดังกล่าวในประเทศไทยเพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอนกรีตไหลเข้าแบบและอัดแน่นได้เองต่อไป  โดยในการศึกษาปัญหานี้ได้เลือกวิธี Mixture  Design  Method  ซึ่งจะวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์  ซึ่งจะได้แบบจำลองพื้นผิวตอบสนองและคอนทัวร์พล๊อตของแต่ละส่วนผสม  และจะนำไปสู่ส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุด 

บทความโดย  พงศ์พิชญ์  พิมพิไสย