ประวัติแผนกวิชาช่างก่อสร้าง - โยธา

ประวัติแผนกวิชาช่างก่อสร้าง
ตั้งขึ้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2482 เดิมใช้ชื่อโรงเรียนช่างไม้ลำพูนเปิดสอนหลักสูตรมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้นหลัก สูตร 3 ปี และหลักสูตรมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลายหลักสูตร 3 ปี เปิดเรียนแรกมีครู 3 คน นักเรียน 22 คน รับนักเรียนจบ ป.4 เรียน 3 ปี สำเร็จการศึกษาได้รับวุฒิช่างไม้เบื้องต้นในปีการศึกษา 2510 รวมโรงเรียนการช่างสตรีลำพูน กับโรงเรียนช่างไม้ลำพูนเข้าด้วยกัน ใช้ชื่อว่า โรงเรียนการช่างลำพูน มีนักเรียน 2 แผนกคือ แผนกวิชาช่างก่อสร้าง และแผนกวิชา
คหกรรม ศาสตร์ มีครู-อาจารย์ 28 คน นักเรียน 215 คนสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในปีการศึกษา 2538 วิทยาลัยเทคนิคลำพูนได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนสอนในระดับ ปวช. และ ปวส. ปีการศึกษา 2560 ได้ทำการเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขา โยธา

http://4.bp.blogspot.com/-FERlm4fPDSs/TgSLeQNXzFI/AAAAAAAAOoY/kP58WvHqjOk/s1600/architect_reading_blu_a_ha.gif

»»» บทความและข่าวสาร

การตรวจสอบและควบคุมงานตอกเสาเข็ม : พงศ์พิชญ์ พิมพิไสย

การตรวจสอบและควบคุมงานตอกเสาเข็ม


1. สภาพพื้นที่ที่จะตอก มีความพร้อมในการทำงาน  

2. ปั้นจั่นที่ใช้มีความเหมาะสมกับความยาวเสาเข็ม สภาพแข็งแรง พร้อมในการใช้งาน

3. เสาส่งอยู่ในลักษณะที่ใช้งานได้ดี, หมวกครอบ และไม้รองหัว เสาเข็ม อยู่ในสภาพดี เหมาะสม พร้อมใช้งาน

4. น้ำหนักตุ้มที่ใช้ ถูกต้อง เหมาะสมในการทำงาน









5. ตู้เชื่อม และอุปกรณ์ มีความเหมาะสม พร้อมใช้งาน 

6. รูปร่าง, ขนาด, ความยาว และอายุของเสาเข็ม ถูกต้อง ได้มาตรฐาน





7. สภาพของเสาเข็ม มีสภาพดี ไม่มีรอยร้าว, การโค้งงอ, รอยพรุน, แตก บิ่น, เหล็ก Plate
ตั้งฉากและแนบสนิทหัวเข็ม

8. ตำแหน่งหมุดเข็มชัดเจน มีความมั่นคง แข็งแรง ถูกต้อง ครบถ้วน 

9. กำหนดระดับ ของหัวเสาเข็ม โดยตรวจสอบจากแบบแล้ว

10. การวางแผนการเดินปั้นจั่น ในการตอกเสาเข็ม ถูกต้อง 

11. มี Blow Count อยู่ประจำเพื่อจดบันทึกข้อมูลการตอกเสาเข็ม






การตรวจสอบและควบคุมงานตอกเสาเข็ม ภายหลัง


1. ขนาด, จำนวนขนองเสาเข็มเปรียบเทียบกับผังเสาเข็ม ถูกต้องตามแบบ

2. ตำแหน่งของเสาเข็มหลังการตอก ถูกต้องตามแบบ ไม่มีต้นใดหนีศูนย์หรือล้มดิ่งเกินมาตรฐานกำหนด 

3. สภาพของเสาเข็มหลังการตอก ไม่มีต้นใดแตก, ร้าว หรืออยู่ในสภาพที่ไม่สามารถใช้งานได้

4. ระดับของหัวเสาเข็ม ถูกต้อง 

5. ผล Blow Count ของเสาเข็มทุกต้น ชัดเจน ถูกต้อง










การตรวจสอบและควบคุมงานตอกเสาเข็ม : พงศ์พิชญ์  พิมพิไสย